วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่8)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 7 "วิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง"
Share on Facebook
    เฮ่นโล้ววววว !!! ตอนสุดท้ายของ Indicators จุดแจ่ม MACD มาแล้วครับ กับตอนที่ 7 ของซีรี่ย์ 3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอน “วิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง” สำหรับเนื้อหาในตอนนี้ หลังจากที่ทุกคนอ่านจบแล้ว แดดดี้หวังว่าทุกคนจะได้แนวทางการเอา MACD ไปใช้งานได้อย่างถูกต้องกันครับ
ในตอนที่ 6 ผมได้แนะนำให้รู้จักกับสัญญาณที่น่าสนใจจาก MACD ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่
  1.       MACD ตัด Center Line
  2.       MACD ตัด Signal Line
  3.       Divergence

รูปตัวอย่างแสดงสัญญาณจาก MACD ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 1) MACD ตัด Center Line 2) MACD ตัด Signal Line และ Divergence



และในตอนที่แล้วผมยังได้ยกตัวอย่างวิธีการใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง ที่ใช้การโดยวิเคราะห์แค่ MACD เพียงอย่างเดียว แล้วตัดสินใจลงมือซื้อหรือขายหุ้นทันที เมื่อมีสัญญาณของ MACD อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น โดยไม่ได้สนใจวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นเลย ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ซื้อขายแล้วไม่ได้กำไรในระยะยาว

ข้อสังเกตเพิ่มเติมของสัญญาณจาก MACD

ก่อนที่จะเริ่มแนะนำวิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้องผมอยากจะให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาณจาก MACD ทั้ง 3ประเภท ดังนี้ คือ

  1. สัญญาณ MACD ตัดกับ Signal Line เป็นสัญญาณที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแรงส่งของราคาหุ้น (Momentum) เป็นสัญญาณระยะสั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาจะมีการกลับทิศทาง โดยที่การกลับทิศทางของราคาอาจจะเป็นแค่การกลับทิศทางระยะเวลาสั้นๆ หรืออาจจะเป็นการกลับทิศทางของราคาหุ้นที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับทิศทางของราคาครั้งใหญ่จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของแนวโน้มราคาหุ้นก็ได้
  2. สัญญาณ MACD ตัดเส้น Center Line เป็นสัญญาณให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น (Trend) ถือว่าเป็นสัญญาณระยะกลาง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่กินระยะเวลายาวนานกว่าการกลับตัวของราคา

รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นการกลับทิศทางของราคาหุ้นซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น และการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มราคาหุ้นซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะกลาง

  1.  สัญญาณ MACD ตัด Signal Line ซึ่งเป็นสัญญาณระยะสั้น ส่วนสัญญาณ MACD ตัด Center Line เป็นสัญญาณระยะกลาง จะเห็นได้ว่า สัญญาณ MACD ตัด Signal Line จะเกิดบ่อยกว่า สัญญาณ MACD ตัด Center Line  


รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าสัญญาณ MACD ตัด Signal Line จะเกิดบ่อยกว่าสัญญาณ MACD ตัด Center Line

  1. สัญญาณ Divergence จะเป็นสัญญาณที่พบได้น้อยครั้งที่สุดในบรรดา 3 สัญญาณที่น่าสนใจของสัญญาณ MACD ในความเห็นของผม สัญญาณ Divergence เป็นสัญญาณเตือนที่มีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดสัญญาณ Divergence ก็ไม่ได้การันตีว่าราคาจะต้องกลับตัวเสมอไป การซื้อขายจากสัญญาณ Divergence จึงต้องติดตามกราฟราคาหุ้นให้ใกล้ชิดก่อนการลงมือซื้อขายจริง




รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดสัญญาณ Divergence ครั้งแรกราคาหุ้นยังไม่กลับทิศทางทันที แต่เป็นแค่พักตัวชั่วคราวเพื่อเคลื่อนที่ไปต่อในทิศทางเดิม ส่วนสัญญาณ Divergence ครั้งที่สองแนวโน้มราคาหุ้นกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง

การใช้งาน MACD ที่ถูกวิธี

หลักการที่ผมจะแนะนำในบทความนี้ เป็นหลักการในการใช้งาน Indicators ทุกประเภท นะครับ ไม่ได้จำกัดเฉพาะ MACD เท่านั้น หลักการที่ว่าคือ คือ ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นมากที่สุด และใช้การวิเคราะห์ Indicators เป็นเพียงข้อมูลเสริมเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ดังนั้นห้ามให้ความสำคัญกับ Indicators มากกว่ากราฟราคาหุ้นเด็ดขาด และต้องไม่ตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นจากข้อมูล Indicators แต่เพียงอย่างเดียว

การใช้งาน MACD ที่ถูกต้องสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1
เมื่อ MACD เกิดสัญญาณที่น่าสนใจออกมา ไม่ว่าจะเป็น MACD ตัด Center Line หรือ MACD ตัด Signal Line หรือ Divergence ก็ตาม เราจะใช้สัญญาณเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าหุ้นตัวนี้เริ่มมีความน่าสนใจ หรือเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าราคาหุ้นในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพื่อให้เราติดตามกราฟราคาอย่างใกล้ชิดเพื่อหาจังหวะที่ลงมือซื้อหรือขายที่ดีต่อไป หรือเป็นสัญาณ แต่การหาจังหวะลงมือซื้อขายหุ้นที่ดีนั้น จะต้องกลับไปวิเคราะห์จากกราฟราคาหุ้นเสมอ เนื่องจากกราฟราคาหุ้นเป็นข้อมูลที่ใช้แสดงพฤติกรรมของคนที่เข้ามาซื้อขายในตลาดได้ดีที่สุด  


รูปแสดงวิธีการใช้งาน MACD ที่ถูกวิธี เมื่อเกิดสัญญาณจาก MACD จะไม่ลงมือซื้อขายทันที แต่ให้ตัดสินใจลงมือซื้อขายจากการวิเคราะห์กราฟราคาหุ้น


รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นกรณีที่ MACD ส่งสัญญาณ Divergence แต่หลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดแล้วไม่มีสัญญาณให้ขายจึงถือหุ้นต่อ ทำให้ไม่ได้ลงมือขายหุ้นจากสัญญาณ Divergence ของ MACD ในครั้งนี้


รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นกรณีที่ MACD ส่งสัญญาณ Divergence และหลังจากติดตามกราฟราคาหุ้นอย่างใกล้ชิดพบว่ากราฟราคาหุ้นทำ New Low และ เบรก Trend Line หลังจากนั้น จึงใช้สัญญาณจากกราฟราคาในการลงมือขายหุ้น

วิธีที่ 2
เราออาจจะใช้ MACD เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้น โดยเริ่มจากวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นเพื่อให้ได้จังหวะที่จะลงมือซื้อขาย และก่อนจะลงมือก็ค่อยมาวิเคราะห์ดูลักษณะที่เกิดขึ้นของ MACD ว่าสนับสนุนการลงมือซื้อขายหรือไม่  ถ้าลักษณะที่เกิดขึ้นของ MACD ไม่สนับสนุนทิศทางที่เรากำลังจะลงมือ เราก็จะไม่ลงมือซื้อขาย ยกตัวอย่างเช่น ในการซื้อขายหุ้นระยะกลางเมื่อเราวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นแล้วกำลังอยากจะลงมือซื้อหุ้น แต่เส้น MACD ยังอยู่ใต้ Center Line ซึ่งให้ข้อมูลว่าทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้นยังอยู่ในขาลง เราก็จะไม่ลงมือซื้อขาย หรือถ้ากำลังอยากซื้อหุ้นแล้วถือระยะสั้นๆ แต่ MACD อยู่ใต้เส้น Signal ซึ่งบอกถึงแรงส่งของราคาไม่สนับสนุนการซื้อหุ้น เราก็จะไม่ลงมือซื้อหุ้น เป็นต้น

รูปแสดงวิธีการใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง เมื่อวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นจนได้สัญญาณซื้อขายแล้ว จากนั้นวิเคราะห์ MACD เพื่อดูว่าลักษณะของ MACD สนับสนุนการลงมือหรือไม่


รูปตัวอย่างการใช้ MACD เพื่อสนับสนุนสัญญาณซื้อหุ้น


รูปตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเส้น MACD ไม่สนับสนุนการลงมือซื้อหุ้น

จากวิธีในการใช้งาน MACD ทั้ง 2 วิธีจะเห็นได้ว่าการตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นในแต่ละครั้งถ้าเราให้ความสนใจที่สัญญาณจากกราฟราคาหุ้นมากกว่ากราฟ MACD  จะช่วยลดความผิดพลาดของสัญญาณที่เกิดขึ้นจาก MACD ได้ หรือถ้ากำลังสนใจลงมือซื้อขายหุ้น ก็ลองใช้ MACD เป็นเครื่องมือสำหรับคัดกรองจังหวะซื้อขายที่ไม่ดีออกไป ก็จะช่วยให้เราได้โอกาสในการซื้อขายหุ้นได้มีกำไรมากกว่าโอกาสในการขาดทุนครับ

สุดท้ายนี้จะขอเน้นย้ำอีกสักรอบครับว่า การลงมือซื้อขายหุ้นนั้นเราจะยกให้กราฟราคาหุ้นเป็นพระเอกเสมอ โดยการตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นต้องตัดสินใจจากกราฟราคาหุ้นเท่านั้น และขอให้ MACD หรือ Indicators เป็นแค่พระรองช่วยสนับสนุนการตัดสินใจซื้อขายเท่านั้น

สำหรับตอนสุดท้ายของ MACD ก็ขอจบลงแต่เพียงเท่านี้ครับ สำหรับตอนหน้าจะแนะนำให้รู้จักกับ RSI ซึ่งเป็น Indicators ยอดฮิตตลอดการอีกตัวหนึ่ง รับรองว่าถ้าใครใช้งาน RSI ได้อย่างถูกวิธี จะช่วยให้การเทรดหุ้นของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ บ๊ายบายยยย แล้วพบกันใหม่ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่12)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 11 “4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Indicators” by เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน ,Jul 1, 2015 12:55 PM writer of บทความ...