วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่12)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 11 “4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Indicators”
Share on Facebook
     
         สวัสดีคร๊าบบบ ตอนที่ 11 เรื่อง “4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Indicators ที่มือใหม่ต้องรู้” จะเป็นตอนสุดท้ายของซีรี่ย์ “3 ตัวช่วยรวยด้วยเทคนิค” แล้วนะครับ โดยเนื้อหา ในตอนนี้จะรวบรวมจากประสบการณ์ การให้คำแนะนำ และงานสอน ซึ่งมักจะเจอกับคำถาม 4 ข้อนี้อยู่บ่อย ๆ จึงอยากจะเอามาแชร์ เพราะคิดว่าผู้อ่านหลายคนก็คงจะสงสัยประเด็นเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน มาเริ่มกันเลยครับ...

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่11)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 10 “วิธีใช้งาน RSI ที่ถูกต้อง”
Share on Facebook
     อ้าาวววววว… เร่เข้ามาครับ...เร่เข้ามา ตอนที่ 10 เป็นตอนสุดท้ายของ RSI แล้วจ้า!!! ตอนนี้แหละที่จะมาแนะนำวิธีใช้งาน RSI ที่ถูกต้องให้เอาไปใช้กัน ซึ่งตอนที่แล้วผมได้แนะนำวิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้องแต่เป็นวิธีที่ถูกแนะนำให้ใช้กันอย่างแพร่หลายไปแล้ว นั่นก็คือ การตัดสินใจลงมือซื้อขายหุ้นโดยใช้สัญญาณของ RSI ได้แก่ Overbought , Oversold และ Divergence เพียงอย่างเดียว แถมยังยกตัวอย่างให้เห็นกันแบบจะ ๆ ว่าถ้าตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นด้วยสัญญาณของ RSI เพียงอย่างเดียว มีโอกาสซื้อของแพงและโอกาสขายหมูได้

หากใครยังไม่เข้าใจความหมายของ Overbought Oversold และ Divergence ของ RSI สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนนี้ได้ที่บทความ “วิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้อง” ครับ


สัญญาณ Overbought OverSold และ Divergence ของ RSI ใช้งานไม่ได้หรือ ?

คำตอบ คือ ใช้งานได้ครับ... ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าลงมือซื้อหุ้นตามสัญญาณ Oversold ของ RSI (กรณี RSI น้อยกว่า 30) หรือลงมือขายหุ้นตามสัญญาณ Overbought (กรณีที่ RSI มากกว่า 70) หรือ Divergence ของ RSI ถือได้ว่าเป็นจังหวะในการซื้อขายหุ้นที่ดีมาก ๆ เลยทีเดียว



3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่10)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 9 “วิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้อง”
Share on Facebook
     บทความนี้เป็นตอนที่ 9 แล้วนะ มีชื่อตอนว่า “วิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้อง”  ผมไม่แปลกใจเลยที่ทำไมยังมีคนที่เล่นหุ้นเทคนิคมาตั้งนานแต่ก็ยังทำกำไรกันไม่ได้จริง ๆ จัง ๆ ซักที เพราะมีการแนะนำวิธีใช้งาน Indicators ที่ไม่ถูกต้องกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น การใช้งาน Moving Average ที่ไม่ถูกต้อง การใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง และในบทความนี้จะแนะนำวิธีการใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้องให้ได้รู้จักกัน

     อย่างแรกผมจะแนะนำสัญญาณ 2 ประเภทที่น่าสนใจ จาก RSI ให้ได้รู้จักกันก่อน ได้แก่ สัญญาณ Overbought Oversold  และ  Divergence   จากนั้นก็จะแนะนำวิธีใช้งาน RSi แบบผิด ๆ พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมถึงใช้งาน RSI แบบนั้นไม่ได้


Overbought / Oversold

     ในการวาดกราฟเส้น RSI นั้น โปรแกรมที่วิเคราะกราฟหุ้น จะมีการลากเส้นแนวนอนของค่า RSI เท่ากับ 30 และ 70 เอาไว้ด้วย และตั้งชื่อพื้นที่ในส่วนที่ RSI มากกว่า 70 ว่าเขต Overbought และตั้งชื่อพื้นที่ในส่วนที่ RSI น้อยกว่า 30 ว่า Oversold


รูปแสดงพื้นที่ Overbought และ Oversold


3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่9)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 8 "ทำความรู้จัก RSI"
Share on Facebook
     บทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก RSI หรือชื่อเต็มคือ Relative Strength Index  ซึ่งเป็น  Indicator ยอดฮิตตัวสุดท้ายของ ซี่รี่ย์ “3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค”  RSI เป็น Indicator  ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แรงส่งของราคาหุ้น หรือ Momentum (สามารถทำความเข้าใจความหมายของ Momentum  ได้จากซีรี่ย์ ตอนที่ 1  “”ทำความรู้จัก Indicators” )  

เนื้อหาจะเริ่มอธิบายสูตรของ RSI และต่อมาจะแปลความหมายจากค่า  RSI ที่ได้จากการคำนวณ และลักษณะหน้าตาของกราฟ RSI ว่าจะให้ข้อมูลอะไรกับเราบ้าง


RSI คืออะไร

     RSI เป็น Indicator ที่พัฒนาโดย J. Welle Wilder  ซึ่งคนนี้พัฒนา Indicators  อีกหลายตัวที่เป็นที่นิยมในหมู่คนเล่นหุ้นเทคนิค เช่น ADX (Average Directional Index), True Range เป็นต้น  RSI เป็น Indicator ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Momentum ของราคาหุ้น เนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะ RSI โดยสูตรของ RSI คือ

           

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่8)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 7 "วิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง"
Share on Facebook
    เฮ่นโล้ววววว !!! ตอนสุดท้ายของ Indicators จุดแจ่ม MACD มาแล้วครับ กับตอนที่ 7 ของซีรี่ย์ 3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอน “วิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง” สำหรับเนื้อหาในตอนนี้ หลังจากที่ทุกคนอ่านจบแล้ว แดดดี้หวังว่าทุกคนจะได้แนวทางการเอา MACD ไปใช้งานได้อย่างถูกต้องกันครับ
ในตอนที่ 6 ผมได้แนะนำให้รู้จักกับสัญญาณที่น่าสนใจจาก MACD ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่
  1.       MACD ตัด Center Line
  2.       MACD ตัด Signal Line
  3.       Divergence

รูปตัวอย่างแสดงสัญญาณจาก MACD ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 1) MACD ตัด Center Line 2) MACD ตัด Signal Line และ Divergence

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่7)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 6 “วิธีใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง”
Share on Facebook
      สวัสดีครับกับบทความตอนที่ 6 ในห้วข้อ วิธีใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง ในบทความนี้ผมขอเริ่มต้นแนะนำใ้ห้รู้จักสัญญาณที่น่าสนใจจาก MACD ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ MACD ตัด Center Line , MACD ตัด Signal Line และ Divergence พร้อมทั้งการแปลความหมายสัญญาณที่เกิดขึ้นของแต่ละประเภทด้วย จากนั้นก็จะแนะนำวิธีใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง แต่กลับเป็นวิธีที่ถูกแนะนำให้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย พร้อมตัวอย่างที่ชัดเจนว่า ซื้อขายหุ้นด้วยวิธีที่ผิดเหล่านี้แล้วผลการซื้อขายไม่น่าจะได้กำไรในระยะยาว แล้วในบทความหน้าผมจึงค่อยมาแนะนำให้รู้จักวิธีการใช้งาน MACD ที่ถูกต้องอีกทีนึงครับ

สัญญาณจาก MACD

     ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้รู้จักกับเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์จากกราฟของ MACD ที่นักเทคนิคใช้บอกว่า MACD ได้ส่งสัญญาณที่น่าสนใจออกมาแล้ว โดยเป็นสัญญาณพื้นฐานที่ถูกแนะนำอยู่ทั่วไป และจะอธิบายความหมายพร้อมที่มาที่ไป ว่าทำไมสัญญาณทั้ง 3 ประเภทจึงควรจะได้รับความสนใจ  แต่อย่างไรก็ตามสัญญาณทั้ง 3 ประเภทที่เกิดขึ้นจาก MACD นี้ผมไม่แนะนำให้นำไปลงมือซื้อขายในทันทีหลังจากที่เกิดสัญญาณขึ้น เพราะเป็นวิธีนำไปซื้อขายหุ้นแล้วไม่ได้กำไร

1) เส้น MACD ตัดข้ามเส้น Center Line (MACD = 0)

     จากที่ผมได้อธิบายวิธีการอ่านกราฟเส้น MACD ไว้ในบทความตอนที่ 5-1 ในหัวข้อ “ทำความรู้จัก MACD” ว่า

     การที่ค่า MACD มีค่าเป็นบวก(+) หรือเส้น MACD อยู่เหนือ Center Line หมายความว่า เส้น EMA(12) อยู่เหนือเส้น EMA(26)

     และการที่ MACD มีค่าเป็นลบ(-) หรือเส้น MACD อยู่ใต้เส้น Center Line ก็หมายความว่า เส้น EMA(12) อยู่ใต้เส้น EMA(26)

     ซึ่งเส้น Center Line คือเส้นที่แสดงค่า MACD = 0 แปลว่าที่จุดนั้น เส้น EMA(12) กับ เส้น EMA(26) มีค่าเท่ากัน


3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่6)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 5-2 “Signal Line และ MACD Histogram”
Share on Facebook
 สวัสดีคร๊าบบบ ......
     พบกับตอนที่ 5-2 ของซีรี่ย์ 3 ตัวช่วยรวยหุ้นด้วยเทคนิค ในชื่อตอน “ทำความรู้จัก Signal Line และ MACD Histogram” ซึ่งเป็นตอนต่อจากตอนที่แล้วคือ “ทำความรู้จัก MACD” ที่เป็น Indicator ที่ใช้วิเคราะห์และให้ข้อมูลได้ทั้งทิศทางแนวโน้มของกราฟราคาหุ้น และ Momentum ของราคาหุ้น

     สำหรับเนื้อหาของบทความในตอนนี้ผมจะแนะนำให้รู้จักกับ Signal Line และ MACD Histogram ซึ่งเป็น Indictor ที่ใช้วิเคราะห์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้น  MACD อีกต่อหนึ่ง ณ จุดนี้ ผมจึงขอย้ำประเด็นสำคัญให้ทำความเข้าใจกันก่อนอีกสักครั้งว่า  Signal Line และ MACD Histogram ไม่ใช่ Indicator ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์กราฟของราคาหุ้น แต่เป็น Indicator ที่ใช้วิเคราะห์เส้น MACD (Indicator ของ MACD)


MACD เป็น Indicator เพื่อวิเคราะห์กราฟราคาหุ้น
Signal Line และ MACD Histogram เป็น Indicator เพื่อวิเคราะห์ MACD
(Indicator ของ Indicator)

     เวลาที่เลือกใช้งาน MACD นั้นส่วนใหญ่โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์กราฟหุ้นมักจะไม่วาดเส้น MACD ออกมาเดี่ยวๆ เพียงเส้นเดียว แต่จะวาดเส้น Signal Line และ MACD Histogram พร้อมๆ กันกับ MACD ในพื้นที่เดียวกัน (เลือกใช้งาน MACD แต่มี Indicator แสดงออกมาทั้ง3 ตัวพร้อมๆ กัน)


 รูปแสดงตัวอย่างที่โปรแกรม Aspen Mobile ที่แสดงค่า 1) MACD (เส้นสีเขียว) 2) Signal Line (เส้นสีชมพู) และ3)  MACD Histogram (แท่งสีเหลือง) พร้อมๆกัน เมื่อเลือกใช้งาน MACD


3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่5)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 5-1 “ทำความรู้จัก MACD”
Share on Facebook
    สวัสดีครับพบกับตอนที่ 5 ที่จะมี 2 ตอน ตอนนี้จะเป็นตอนที่ 5-1 ของซีรี่ย์ 3 ตัวช่วยรวยหุ้นด้วยเทคนิค ในตอน “ทำความรู้จัก MACD” สำหรับบทความตอนนี้ผมจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ MACD (Moving Average Convergence Divergence อ่านว่า “Mac-Dee” หรือ “ M-A-C-D” ก็ได้) Indicator ตัวนี้เป็น Indicator ที่นำลักษณะของกราฟเส้น Moving Average ที่ถูกวาดขึ้นพร้อมๆ กัน 2 เส้นมาประยุกต์ใช้งาน เพื่อการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยหลักการที่ซับซ้อนขึ้น ความเห็นส่วนตัวของผมนี่ยกให้ MACD เป็นสุดยอด Indicator ในดวงใจเลยทีเดียว

เพราะจุดแข็งของ MACD เป็น Indicator ที่สามารถให้ข้อมูลได้ทั้ง 1) ทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น (Trend) และ 2) แรงส่งของราคาหุ้น (Momentum) พร้อมๆ กัน

ด้วยจุดแข็งตรงนี้จึงทำให้ MACD เป็น Indicator ที่แม้ว่าจะถูกพัฒนาและใช้งานมานานแล้ว แต่ยังเป็น Indicator ที่ยอมรับและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันนี้

     เนื่องจากบทความนี้เกี่ยวกับ MACD ซึ่งเป็น Indicator ที่ประยุกต์เอาลักษณะของเส้น Moving Average 2 เส้นมาวิเคราะห์ด้วยหลักการที่ซับซ้อนขึ้น ผู้อ่านคนไหนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการแปลความหมายจากกราฟเส้น Moving Average ผมแนะนำให้ลองอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Moving Average ก่อนแล้วค่อยอ่านบทความนี้ตามทีหลัง เพราะจะทำให้สามารถทำความเข้าใจลักษณะของ MACD ได้ง่ายขึ้น ตาม Link ที่ให้ไว้ด้านล่างครับ
ตอนที่ 1 ทำความรู้จัก Indicators
ตอนที่ 2 ทำความรู้จัก EMA
ตอนที่ 3 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ไม่ถูกต้อง
ตอนที่ 4 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้อง
แต่สำหรับใครที่คุ้นเคยกับการอ่านเส้น Moving Average แล้วเราไปลุยกันต่อได้เลยครับ

MACD คืออะไร?

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่4)

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 4 “วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้อง”
Share on Facebook
              ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้แนะนำวิธีที่ใช้งานเส้น EMA ที่ไม่ถูกต้อง โดยการลงมือซื้อหรือขายหุ้นทันทีจากเงื่อนไขจาก 1) การตัดกันระหว่างกราฟราคาหุ้นกับเส้น EMA หรือ 2) การตัดกันระหว่างเส้น EMA ระยะสั้นกับเส้น EMA ระยะยาว ซึ่งในตอนที่แล้วผมได้ให้ข้อสังเกตไว้ด้วยว่าทำไมผมจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าว ในตอนที่ 4 นี้ ผมจะแนะนำวิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้องและเป็นวิธีที่นำไปใช้ซื้อขายหุ้นแล้วได้ผลดี ถ้าทุกคนพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ

วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้อง คือ


3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่3)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 3 "วิธีใช้งาน EMA ที่ไม่ถูกต้อง"
Share on Facebook
      สวัสดีครับบทความตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 3 แล้ว เนื้อหาของตอนนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับ EMA (Exponential Moving Average) ซึ่งก่อนที่ผมจะแนะนำวิธีการแปลความหมายของกราฟเส้น EMA และการนำกราฟเส้น EMA ไปใช้งานเพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นที่ถูกต้อง ผมขอเริ่มต้นจากวิธีการนำ EMA ไปใช้งาน ที่ไม่ถูกต้อง  แต่กลับเป็นวิธีที่ถูกแนะนำให้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และถ้าใครนำวิธีนี้ไปใช้ตัดสินใจซื้อขายหุ้นผมมั่นใจครับว่าคุณจะไม่ประสบความสำเร็จในการซื้อขายหุ้นอย่างแน่นอน

     วิธีที่ไม่ถูกต้องในการนำเส้น EMA ไปใช้งาน คือ ลงมือซื้อหรือขายหุ้นโดยใช้เงื่อนไขของการตัดกันระหว่างกราฟราคาหุ้นกับเส้น EMA หรือ การตัดกันระหว่างเส้น EMA 2 เส้นที่คำนวณด้วยระยะเวลาย้อนหลังไม่เท่ากัน เช่น

1) ลงมือซื้อหุ้นเมื่อเห็นว่ากราฟของราคาหุ้นตัดเส้น EMA ขึ้นไป
2) ลงมือขายหุ้นเมื่อเห็นว่ากราฟของราคาหุ้นตัดเส้น EMA ลงมา


รูปแสดงตัวอย่างการลงมือซื้อหรือขายหุ้นที่ไม่ถูกต้องจากการตัดกันระหว่างกราฟราคาหุ้นกับเส้น EMA

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่2)

ตอนที่ 2 ทำความรู้จัก EMA [ซีรี่ย์การลงทุน 3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค]
Share on Facebook
          ในบทความตอนที่แล้ว ผมได้แนะนำให้รู้จักกันว่า Indicators คืออะไร และมีวิธีการแสดงข้อมูล Indicators ด้วยกราฟแบบไหนบ้าง พร้อมทั้งอธิบายประโยชน์ของการวิเคราะห์ Indicators ว่าให้ข้อมูลอะไรกับเราบ้าง

          ในตอนที่ 2 ของซีรี่ย์นี้ผมจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับสุดยอด Indicators ตัวแรก นั่นก็คือ  เส้น Moving Average (MA) หรือภาษาไทยเรียกว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งเป็น Indicators ที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดและถูกนำไปใช้งานเพื่อช่วยตัดสินใจซื้อขายหุ้นอย่างแพร่หลาย ผมมั่นใจสุดๆ ครับว่าไม่มีใครที่วิเคราะห์ทางเทคนิคนิคเพื่อตัดสินใจซื้อหุ้นโดยที่ไม่ใช้งานเส้น Moving Average เพื่อเป็น Indicators ช่วยประกอบการตัดสินใจ เพราะการใช้งานง่ายและประสิทธิภาพของ Moving Average โดยส่วนตัวผมจึงยกให้ Moving Average เป็นสุดยอด Indicators ในดวงใจลำดับที่ 1 ที่จะต้องมีไว้อยู่ในกราฟเวลาวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคตลอดเวลา

ในโปรแกรมวิเคราะห์กราฟราคาหุ้นทุกโปรแกรมจะมี Moving Average ให้เลือกใช้งานมากมายหลากหลายประเภท ยกตัวอย่างประเภท Moving Average ที่พบเห็นบ่อยๆ เช่น Simple Moving Average (SMA), Weighted Moving Average (WMA),และ Exponential Moving Average (EMA) เป็นต้น แต่ตลอดบทความนี้ผมจะเจาะลึกและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EMA (Exponential Moving Average) เป็นหลัก เพราะว่า EMA เป็นประเภทที่มีคนใช้งานมากที่สุดและได้รับความนิยมสูงที่สุด ในขั้นแรกผมจะให้เรารู้จักกับ Moving Average กันก่อนครับว่ามันคืออะไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร และมีการแสดงผลเพื่อนำมาวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยวิธีไหน

 ทำความรู้จักกับ Moving Average

          Moving Average (MA) หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ย (Average) ของราคาหุ้น โดยใช้ข้อมูลของราคาหุ้นย้อนหลังตามที่ระยะเวลาที่เรากำหนด เช่น ถ้าเราสนใจค่าของ Moving Average ระยะเวลาย้อนหลัง 5 วัน เราจะใช้ราคาหุ้น 5 วันย้อนหลังนับจากวันปัจจุบัน มาคำนวณด้วยสูตรของค่าเฉลี่ยประเภทที่เราสนใจ หรือถ้าเราสนใจ Moving Average ระยะเวลาย้อนหลัง 10 วัน ก็หมายความว่าเราจะใช้ราคาหุ้น 10 วันย้อนหลังนับจากวันปัจจุบัน มาคำนวณด้วยสูตรค่าเฉลี่ยที่เราสนใจ ซึ่งข้อมูลราคาหุ้นที่นิยมนำมาใช้คำนวณค่า Moving Average คือ ราคาปิดของหุ้นของช่วงระยะเวลาที่เราสนใจ

          แต่เนื่องจากค่าเฉลี่ยเพียงค่าเดียวไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ดังนั้นวิธีการแสดงผลของ Moving Average จึงคำนวณค่าเฉลี่ยออกมาจำนนวนหลายๆ ค่า โดยจะคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นย้อนหลังค่าใหม่ เมื่อมีข้อมูลของราคาตัวใหม่เพิ่มขึ้นมา และวาดกราฟเของ Moving Average ออกมาเป็นกราฟเส้นที่มีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(Moving) โดยการเรียงข้อมูลค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้ต่อเนื่องกัน และวาดควบคู่กันไปกับกราฟของราคา จึงเป็นที่มาของคำว่า “Moving Average”

ตัวอย่าง ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณค่า Moving Average (MA) ระยะเวลาย้อนหลัง 5 วัน


3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่1)

ตอนที่ 1 รู้จัก indicators [ซีรี่ย์การลงทุน 3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค]
Share on Facebook
แนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้น จะมีวิธีหลักๆ ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายอยู่ 2 วิธี คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับอะไร ก็ไปลองทำแบบทดสอบได้ที่ แบบสำรวจสาย Technical คุณมาถูกทางหรือยัง? ครับ
สำหรับคนที่เลือกวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยอาศัยการวิเคราะห์กราฟเพื่อตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหาจังหวะในการซื้อขายหุ้นที่ดี เพราะการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นไม่สามารถใช้หาจังหวะในการซื้อขายได้ ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์กราฟหุ้นทางเทคนิคจะบอกว่าเราควรจะซื้อหุ้นหรือขายหุ้นเมื่อไหร่ ที่ราคาเท่าไหร่
อย่างไรก็ตามเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคเพื่อหาจังหวะซื้อขายหุ้นก็มีอยู่หลายชนิด เช่น แนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคา (Trend) แนวรับ-แนวต้าน (Support & Resistance) รูปกราฟแท่งเทียน (Candlestick) รูปแบบราคา(Chart Patterns) และ  ดัชนีชี้วัด (Indicators ) ซึ่ง Indicators นั้นถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมจากนักวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคเป็นอย่างมาก

“อยากวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคเทคนิคให้ได้กำไร ต้องฝึกใช้ Indicators ให้เก่งๆ “ หลายคนที่เป็นมือใหม่คงเคยได้ยินคำพูดหรือคำแนะนำในลักษณะนี้มาก่อน แต่ก็ยังไม่รู้จักว่า Indicators คืออะไร , การใช้ Indicators เพื่อวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคมีประโยชน์อะไรบ้าง และเค้าดูหรืออ่านกราฟของ Indicators กันยังไง แต่สำหรับบางคนที่คุ้นเคยกับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคมาบ้างแล้ว ก็อาจจะอยากรู้ว่า Indicators ตัวไหนบ้างที่เด่นๆ ใช้งานได้ผลดี หรือมีเคล็ดลับในการใช้งาน Indicators อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
จากข้อสงสัยที่ผมเกริ่นขึ้นมาทั้งหมดข้างต้น ผมมั่นใจว่าผู้อ่านจะได้รับความกระจ่างในทุกประเด็นอย่างแน่นอน จาก Series บทความชุดที่มีชื่อว่า “3 สุดยอด Indicators สำหรับวิเคราะห์กราฟหุ้น”
ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย...

3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค(ตอนที่12)

3 ตัวช่วยรวยด้วยหุ้นเทคนิค ตอนที่ 11 “4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Indicators” by เทรดเดอร์พ่อลูกอ่อน ,Jul 1, 2015 12:55 PM writer of บทความ...